In บทความ, วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์
b

การทำงานใดๆเป็นของชั่วคราวแต่ความยืนยาวคือมิตรภาพที่ข้ามภพข้ามชาติ” นี้เป็นประโยคที่ผู้เขียนมักจะสื่อสารกับกัลยาณมิตรที่ทำงานด้วยกันและผู้ที่มาปรึกษาสุขภาพจิตทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการและโทรศัพท์มาขอรับการปรึกษา ประโยคดังกล่าวเป็นประโยคที่มักใช้สื่อสารในผู้ที่มาปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตในเรื่องความสัมพันธ์และความขัดแย้งต่างๆในชีวิต เพื่อให้เขาฉุกคิดตามวิธีให้การปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาที่ผู้เขียนมักใช้อยู่เป็นประจำ

หลังจากที่พูดประโยคดังกล่าวจบลง ผู้เขียนมักจะใช้หลักการความเงียบและให้เวลาแก่ผู้ที่มาปรึกษาได้ทบทวนความหมายของประโยคดังกล่าว จากนั้นจึงสนทนาต่อด้วยการถามเขาไปว่า “#คุณพอจะเข้าใจความหมายของประโยคดังกล่าวว่าอย่างไรบ้างครับ” ผู้มารับการปรึกษาอาจแสดงความเห็นต่างๆนานาๆแตกต่างกันออกไป ในขณะที่ผู้เขียนก็ตั้งใจรับฟังอย่างเต็มที่โดยมิมีการโต้แย้งใดๆ และสุดท้ายก็จะอธิบายเชิงถามต่อไปว่า “#ทุกวันนี้คุณยังคบเพื่อนที่เรียนหนังสือสมัยมัธยมร่วมกันอยู่ด้วยหรือไม่ครับ และทุกวันนี้คุณยังคบค้าสมาคมกับเพื่อนสมัยที่เรียนในระดับอุดมศึกษาอยู่ด้วยกันหรือเปล่าครับ “

#ปัจจุบันเป็นเหตุแห่งอนาคต

ทบทั้งหมดของผู้ที่ถูกถามด้วยคำถามดังกล่าวมักจะตอบว่า “#ยังคงคบกันเหนียวแน่นอยู่” และบางรายยังบอกด้วยว่า “#เพื่อนสนิทที่คบกันอยู่จนอายุย่างเข้าเลขห้าแล้วก็คือเพื่อนสมัยมัธยมนั่นเอง” และผู้เขียนยังคงตั้งคำถามเพื่อโน้มน้าวให้เขาฉุกคิดต่อไปอีกว่า ” แล้วการเรียนหรือการงานดังกล่าวได้ผ่านมาแล้วหลายสิบปีแล้วมิใช่หรือแต่สิ่งที่ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือมิตรภาพไงครับ” สุดท้ายผู้มารับการปรึกษาส่วนใหญ่มักจะตั้งใจฟังผู้เขียนเพื่ออธิบายเชิงลึกต่อเสมอ

ตัวอย่างดังกล่าว เป็นวิธีการที่ผู้เขียนผสมผสานทั้งหลักวิชาการ การให้การปรึกษาทั่วไปและแบบโน้มน้าวใจ,การปรับความคิดและมุมมอง,พุทธจิตวิทยาและการสอนสุขภาพจิตศึกษาเชิงลึก ที่ผสมผสานอยู่ในกระบวนการเดียวกันตลอดการสนทนากับผู้มารับการปรึกษา ส่วนใหญ่จะได้ผลดีซึ่งช่วยปรับมุมมองและความคิดของเขาที่มีต่อปัญหาการปรับตัวและความขัดแย้งทั้งในชีวิตส่วนตัวครอบครัวและหน้าที่การงาน ก็ด้วยตระหนักว่า “#การพบกันในการงานใดๆนั้นเป็นของชั่วคราวแต่ความยืนยาวคือมิตรภาพ” นั่นเอง

ตามทฤษฏีทางจิตวิทยา มนุษย์เรานั้นถือเป็นสัตว์สังคมจึงต้องการมิตรภาพความผูกพันและการยอมรับนับถือจากบุคคลรอบข้างและสังคมโดยรวม ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อดังมากมายได้กล่าวไว้ เช่น มาสโลว์(Abrahum Maslow) บอกไว้ว่าคนเราต้องการความรักและได้รับการยอมรับนับถือ ขณะที่แอลเดอร์เฟอร์ (ClaytonAlderfer) กล่าวไว้ว่ามนุษย์ทุกคนต้องการมิตรภาพและความเจริญก้าวหน้า ส่วนแม็คเคลแลนด์ (McClelland) บอกว่ามนุษย์เรานั้นต้องการความผูกพันและมิตรภาพ ด้านอิริกสัน (Eric Homberger Ericson) กล่าวว่ามนุษย์เราทุกคนต้องการได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจหรือความไว้วางใจได้จากบุคคลรอบข้างนั่นเอง

ที่ผู้เขียนกล่าวอ้างนักทฤษฏีทางจิตวิทยามาพอสังเขปนั้นก็เพื่อจะยืนยันให้เข้าใจว่า โดยหลักการทางจิตวิทยานั้น #มษุษย์เราทุกคนล้วนปรารถนามิตรภาพและความผูกพันมิใช่ปรารถนาความขัดแย้งแตกแยกร้าวฉานและทำร้ายกัน แต่การที่มนุษย์ขัดแย้งแตกแยกและร้าวฉานกันนั้น ส่วนหนึ่งล้วนเกิดจากอัตตาตนที่ต่างคนต่างก็ยึดมั้นถือมั้นเฉพาะตรรกะในทางโลก พร้อมทั้งใช้แต่กลไกทางจิต (Defense Mechanism) เฉพาะที่เข้าข้างตนเองและโทษแต่คนอื่น โดยไม่เคยมองเข้ามาที่ตนและแก้ไขจากภายในตนเอง มีแต่กล่าวโทษด่าทอตำหนิติเตียนและเหน็บแนมผู้อื่น สุดท้ายผลลัพท์ก็คือความแตกแยกร้าวรานกัน #เมื่อถึงคราวเลิกราจากหน้าที่การงานชั่วคราวต่างๆแล้วต่างก็นำความร้าวรานติดตัวกันไป

sf

ลายคนเคยเป็นหัวหน้าและบริหารงานโดยใช้แต่วิชาและอัตตาตนเป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง กระทั่งคาดหวังเกินร้อยจนลืมมองปัจจัยทางจิตวิทยาและศักยภาพส่วนบุคคลของลูกน้องและผู้ร่วมงานแต่ละคนว่ามีข้อจำกัดแตกต่างกัน ลูกน้องหรือผู้ร่วมงานต่างก็ทนทุกข์ใจและด่าทออยู่ลับหลังเป็นความแตกแยกและร้าวฉานที่แฝงแร้นอยู่ในที่ทำงาน ต่างก็เก็บกดไว้ เมื่อถึงคราวเกษียณจากชีวิตการทำงาน #ความร้าวรานที่แฝงเร้นอยู่ก็เปิดเผยขึ้นด้วยการประกาศไม่สมาคมและเผาผีกันไปชั่วกาลนาน

การจะจัดการกับความขัดแย้งซึ่งเป็นของตรงกันข้ามกับมิตรภาพนั้น ทำได้หลายวิธีเพียงแต่ต้องเข้าใจและลงมือคิดและทำเช่นนั้นซ้ำๆไปเรื่อยๆแล้วเราจะปล่อยวางได้ นั่นคือ 1)#ต้องรู้จักเอาใจเราไปใส่ใจเขาและเข้าใจในความคิดพฤติกรรมและบริบทของเขาแล้วเราจะเมตตา 2)#ให้ใคร่ครวญหาคุณงามความดีอีกมากมายของผู้ที่เห็นต่างและรู้สึกขัดแย้งจากเรา จากนั้น 3) #ให้ใช้เทคโนโลยีแยกแยะว่าความขัดแย้งต่างๆเหล่านั้นเป็นเพียงหลักการบางประเด็นหรือบางโครงการเท่านั้น อย่านำมาเหมารวมทั้งชีวิต #การขาดสติและขาดการแยกแยะจะทำให้มนุษย์ตกเป็นทาสทางอารมณ์ของตนเอง แล้วแบกความทุกข์จากความขัดแย้งนั้นไว้ในใจตนในขณะที่คนอื่นๆเขาอาจสลัดทิ้งออกไปจากใจเขาเรียบร้อยแล้ว

หากศึกษาพุทธจิตวิทยาในเชิงอภิปรัชญาอย่างลึกซึ้งจะพบว่า ดวงจิตของคนเรานั้นเป็นพลังงานที่สั่งสมข้ามภพข้ามชาติและเป็นเหตุปัจจัยที่มีต่อกันและไร้ความบังเอิญทั้งสิ้น ดังนั้นการมีความรักและความเมตตากรุณาต่อกันในภพนี้ต่างก็จะเป็นความรู้สึกผูกพันที่ข้ามภพข้ามชาติไปเช่นเดียวกันกับความรู้สึกแตกแยกร้าวรานและทุกๆความรู้สึกนั่นเอง #ในพุทธจิตวิทยาหากจะแก้ไขความคิดและการกระทำใดๆต้องแก้ไขที่ปัจจุบันขณะ เพราะปัจจุบันเป็นเหตุแห่งอนาคต ดังนั้น #การรักษามิตรภาพที่ดีงามในภพนี้ก็คือการวางรากฐานมิตรภาพที่ดีงามไปสู่ภพหน้านั่นเอง และหากแม้นภพหน้าไม่มีอยู่จริงการมีมิตรภาพที่ดีต่อกันในภพนี้ก็ล้วนแต่เป็นคุณต่อทั้งตนเองและสังคมมิใช่หรือ

แต่ตนเองยังคงทุกข์ใจจากการชกลมอยู่คนเดียวบนเวทีมวยแห่งความขัดแย้งนั้นๆ กว่าจะรู้ตัวและอยากหลุดจากความทุกข์ใจอีกทีก็ในวันที่ใกล้จะตายดังที่กล่าวมา #สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) ที่บุคคลต้องได้รับการอบรมบ่มเพาะและการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆตามประสบการณ์ชีวิตและวัยที่สูงขึ้น ดังนั้นการให้ค่าคะแนนแบบวัดสุขภาพจิตความฉลาดทางอารมณ์จึงให้ค่าปกติที่ต้องสูงขึ้นตามช่วงวัยของชีวิตนั่นเอง และหากสูงวัยแล้วชีวิตก็ยังไร้มิตรภาพและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง บุคคลเช่นนั้นคงต้องรอไปแก้ไขและอโหสิกรรมแก่ตนเองในตอนใกล้ตายหรือในภพต่อไปนั่นเอง

#คนส่วนมากพอใกล้จะตายมักจะเรียกหาใครๆที่เคยขัดข้องหมองใจไปพูดคุยและอโหสิกรรมต่อกัน แม้การพยาบาลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตผู้เขียนก็พบอยู่เสมอเช่นกันซึ่งต้องอำนวยความสะดวกให้แก่ตัวผู้ป่วยได้รู้สึกดีๆต่างๆก่อนสิ้นใจจากภพนี้ บางรายโกรธกันมานานหลายสิบปีก็มาพูดดีและอโหสิกรรมต่อกันเพียงไม่กี่วันก่อนตาย และยังพูดกับพยาบาลอีกว่า “#ผมรู้สึกดีใจโล่งใจในชีวิตไม่มีสิ่งใดค้างคาใจอีกต่อไป” คำถามในใจของผู้เขียนก็คือ #ทำไมเราทุกๆคนจึงไม่คิดว่าทุกๆวันเป็นวันสุดท้ายของชีวิต นั่นคือวันที่เราปล่อยวางจากความโกรธแค้นและขัดเคืองใดๆกับผู้คนรอบข้าง จิตเราจะสงบสุขขึ้นมิใช่หรือ

#ดังนั้นเราทุกคนไม่ควรจะแบกความทุกข์จากความขัดแย้งและการไร้มิตรภาพใดๆในชีวิตไปแก้ไขในภพหน้า ควรจะจัดการและแก้ไขปัญหาให้จบในวันนี้และภพนี้ เมื่อพบกันในโอกาศต่อไปจะได้พบกันแต่ในบรรยากาศที่เป็นมงคลนั่นคือ #การเปี่ยมมิตรภาพและความผูกพันที่ดีงามไปตลอดกาล

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิตและนักพัฒนาคุณภาพมนุษย์แบบสหศาสตร์ประธานสถาบันพัฒนาคุณภาพมนุษย์ Wuttipong Academy Bangkok และกรรมการบริหารมูลนิธิสงเคราะห์ผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาลสวนปรุง

Recommended Posts