In บทความ, วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์
ร่างทรงกับสภาวะทางสุขภาพจิต และบทบาทหน้าที่ทางสังคม

กั ลยาณมิตรหลายท่านถามเข้ามาว่า “ร่างทรงนั้นทางจิตเวชเรียกว่าอะไรและเป็นอย่างไร ทั้งยังถามอีกว่า เขาเคยรู้จักร่างทรงจำนวนหนึ่งเหตุใดเขาเหล่านั้นจึงเป็นคนไข้โรงพยาบาลจิตเวช และเหตุใดร่างทรงจึงมีอยู่ในสังคม” เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้เขียนขอตอบแบบคร่าวๆผ่านวิทยาการสี่แขนงคือ #จิตวิทยาทั่วไป(psychology), #อภิปรัชญา (metaphysic), #เทววิทยา (theology)และ #มานุษยวิทยา (anthopology) ดังนี้

#ในทางจิตวิทยา (psychology) และจิตเวชศาสตร์นั้นอธิบายไว้ว่า ร่างทรงคือ ผู้ที่มีบุคลิกภาพหลายแบบ (multiple personality) ซึ่งในแต่ละแบบอาจแสดงออกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆที่มากระตุ้นเร้า ซึ่งจะแสดงออกและสื่อสารที่แตกต่างออกไปจากบุคลิกภาพแบบถาวรของเขา และสาเหตุอาจเกิดจากการเลี้ยงดูและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกบีบคั้นหรือรุณแรงหรือละเลยในรูปแบบต่างๆจนอาจส่งผลต่อการปรับตัวหรือรับมือต่อสถานการณ์ต่างๆในชีวิตที่แตกต่างกันหลากหลายรูปแบบนั่นเอง

แต่สำหรับร่างทรงที่สามารถทำหน้าที่ตามวัยของชีวิตได้ เปี่ยมคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตใจเมตตากรุณาและมีจิตสำนึกสาธารณะสูง พร้อมทั้งรับผิดชอบต่อตนเองครอบครัวและสังคมได้เป็นอย่างดี ทั้งยังไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เขาเหล่านั้นก็คือบุคคลคุณภาพของสังคมอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ช่วยสานสัมพันธ์ทางสังคมและส่งเสริมสุขภาพจิตแก่คนในชุมชนให้มีความมั้นคงทางจิตใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็พบอยู่ไม่น้อยในสังคมปัจจุบัน

ในด้านศาสนาปรัชญาโดยเฉพาะ #อภิปรัชญา (metaphysic) นั้น ร่างทรงคือบุคคลที่สามารถเชิญวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้วหรือเทพต่างๆมาประทับทรงในกายของตนได้

“ร่างทรงนั้นทางจิตเวชเรียกว่าอะไรและเป็นอย่างไร

ทั้งยังถามอีกว่า เขาเคยรู้จักร่างทรงจำนวนหนึ่งเหตุใดเขาเหล่านั้นจึงเป็นคนไข้โรงพยาบาลจิตเวช

และเหตุใดร่างทรงจึงมีอยู่ในสังคม”

ต้องช่วยกันดูแลร่างทรงทั้งหลายเหล่านั้นให้ทำบทบาทหน้าที่สานสัมพันธ์ในชุมชนและส่งเสริมสุขภาพจิตและจิตวิญญาณของผู้คนต่อไปโดยมิให้เกิดผลกระทบในทางเสื่อมต่อทั้งร่างทรงเองและสมาชิกของชุมชนในที่สุด

#ซึ่งพบว่ามีทั้งร่างทรงที่บ่งชี้ได้ว่ามีวิญญาณคนอื่นมาเข้าทรงจริงและมีทั้งไม่จริง ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการวิจัยโดยมีระเบียบวิธีวิจัยสาขานี้โดยตรงเรียกว่า theory of implicative verification ซึ่งมีทฤษฏีรองรับอยู่สองกลุ่ม #คือทฤษฏีความน่าจะเป็นและทฤษฏีตรรกศาสตร์ ดังเช่นวิจัยเรื่อง ตายแล้วเกิด ตอนการเชิญวิญญาณเข้าทรง โดย รศ.ดร บุญ นิลเกษ อดีตหัวหน้าภาควิชาศาสนาปรัชญามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ทุนวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ พบว่า วิญญาณที่ผ่านร่างทรงนั้นมีอยู่จริง และในอีกด้านหนึ่งก็ยืนยันได้ว่าร่างทรงนั้นมีวิญญาณผู้อื่นมาทรงอยู่จริง เป็นต้น

ส่วนคำถามที่ว่า “เหตุใดร่างทรงจำนวนหนึ่งจึงเป็นคนไข้โรงพยาบาลจิตเวชนั้น” ขอตอบว่า การป่วยทางจิตใจนั้น เกิดได้และพบได้ในทุกเพศทุกวัยทุกสาขาอาชีพใช่เฉพาะร่างทรงเท่านั้น แต่หากเป็นร่างทรงของจริงที่มิใช่ผู้ป่วยโรคจิตเภท (schizophrenia) นั้น อาจเป็นไปได้ว่าเขาเหล่านั้นไม่สบายทางอารมณ์เกิดความเครียดและวิตกกังวลสูงหรือเศร้าใจ ซึ่งก็เกิดได้กับคนเราทุกเพศทุกวัยอีกเช่นกัน ไม่น่าจะเกิดเฉพาะร่างทรงเท่านั้น แต่น่าจะเป็นเพราะปัจจัยทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันของมนุษย์แต่คนนั่นเอง

ร่างทรงกับสภาวะทางสุขภาพจิต และบทบาทหน้าที่ทางสังคม

ากมองร่างทรงผ่านวิทยาการด้าน #มานุษยวิทยา (anthopology) และ #เทววิทยา (theology) นั้น ก็จะพบว่าร่างทรงนั้นมีมาแต่โบราณกาลทั้งโลกตะวันตกและตะวันออก เช่นแถบชนบทในจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของเมืองไทยนั้น บางพื้นที่จะมีร่างทรงประจำหมู่บ้าน ที่ทำหน้าที่สื่อสารต่อเทวดาที่คุ้มครองหมู่บ้านและทำหน้าที่สื่อสารถึงวิญญาณผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและการเจ็บไข้ได้ป่วยของคนในชุมชนด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งยังมีประเพณีรดน้ำดำหัวร่างทรงในชุมชนอีกด้วย ซึ่งหมายความถึงการให้คุณค่าและความสำคัญต่อร่างทรงนั่นเอง

และหากมองผ่านกรอบทฤษฏีบทบาทหน้าที่ทางสังคม ก็พบว่าร่างทรงเหล่านั้นเป็นเสมือนตำแหน่งที่สำคัญในชุมชนที่ขาดไม่ได้เฉกเช่นตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหรือประธานกลุ่มแม่บ้านและอื่นๆ ซึ่งร่างทรงทำหน้าที่สานสัมพันธ์ทางสังคมและส่งเสริมจิตวิญญาณของคนในชุมชนนั่นเอง ทั้งยังมีรูปแบบการสืบต่อตำแหน่งและการทำหน้าที่ของร่างทรงประจำหมู่บ้านจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่ขาดสาย และยังเป็นที่ยอมรับนับถือมาจวบจนปัจจุบันในหลายพื้นที่

สำหรับเมืองไทยที่ยังเต็มไปด้วยบริบททางสังคมที่ให้คุณค่าและความสำคัญต่อศาสนาปรัชญาเทววิทยาและคุณวิทยาในหลากหลายรูปแบบอยู่นั้น #เราคงมิอาจปฏิเสธการมีอยู่ของร่างทรงไปได้ แต่คงต้องเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม ที่ต้องช่วยกันดูแลร่างทรงทั้งหลายเหล่านั้นให้ทำบทบาทหน้าที่สานสัมพันธ์ในชุมชนและส่งเสริมสุขภาพจิตและจิตวิญญาณของผู้คนต่อไปโดยมิให้เกิดผลกระทบในทางเสื่อมต่อทั้งร่างทรงเองและสมาชิกของชุมชนในที่สุด

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิตและนักพัฒนาคุณภาพมนุษย์แบบสหศาสตร์ประธานสถาบันพัฒนาคุณภาพมนุษย์ Wuttipong Academy Bangkok และกรรมการบริหารมูลนิธิสงเคราะห์ผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาลสวนปรุง

Recommended Posts