In บทความ, วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์
za

แม้จะรู้ตลอดมาว่าการตายเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และทุกชีวิตมิอาจรู้ได้ว่าเราจะตายเมื่อไหร่ แต่ก็อดตกใจไม่ได้จากข่าวการเสียชีวิตของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ บุคคลอันเป็นแบบอย่างที่ดีท่านหนึ่งของสังคมไทย ซึ่งท่านน่าจะมีชีวิตช่วยประเทศชาติได้ยาวนานกว่านี้ สำหรับผู้เขียนเองได้ติดตามผลงานและชีวิตของท่านตลอดจนมีโอกาศได้ฟังการบรรยายจากท่านโดยเฉพาะช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน

#ไม่มีความสมบูรณ์แบบใดๆที่ไร้ความย้อนแย้งอยู่ในตัว

ร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในทัศนของผู้เขียนท่านเป็นบุคคลที่น่าชื่นชมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สาธารณชนอย่างยิ่ง ท่านจบปริญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด หากมองความรู้ความสามารถรอบด้านผ่านการทำงานและความเป็นตัวตนของท่านแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าท่านเป็นทั้งนักวิชาการ นักการเมือง นักการทูต นักการการศึกษา นักการศาสนา และนักคิดที่ให้ข้อคิดและปัญญาแก่สาธารณชนที่ลึกซึ้งตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านได้ตระหนักและพูดถึงสิ่งสำคัญที่นักวิชาการและนักวิชาชีพต่างๆพึงมีนั่นคือ “Philosophical humility”

Philosophical humility คือความใจกว้างพรั่งพร้อมที่จะรับรู้ความแตกต่างหลากหลายของสรรพสิ่งสรรพศาสตร์อันจะนำมาสู่ความใจกว้างอย่างรู้สึกนอบน้อมถ่อมตนในปรัชญาและวิชาความรู้ ดังเช่นที่โสเครตีสนักปรัชญาตะวันตกท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า I know that i know nothing” คือฉันรู้ว่าฉันไม่รู้อะไรเลย เพราะวิธีคิดเช่นนี้จะนำไปสู่ความใจกว้าง พร้อมจะรับฟังผู้อื่นที่แตกต่างหลากหลายอันจะนำมาสู่การยอมรับกันและกัน ตลอดจนเรียนรู้และแสวงหาจุดรวม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในความแตกต่างที่มีอยู่มากมายในโลกใบนี้

เพราะปรากฏการณ์อัตตาสูงอันเกิดจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีต่อถึงบัญฑิตศึกษาโดยเฉพาะในสาขาเดียวกันที่มักขาด Philosophical humility นั้นมีให้เห็นอยู่เต็มสังคม กล่าวคือบุคคลเหล่านั้นนอกจากมักจะยึดมั้นถือนั้นว่าวิทยาการแขนงที่ตนเองเรียนจบมาเป็นเสมือนสรณะจะนำมาสู่การป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆในสังคมได้แต่เพียงผู้เดียวแล้ว ยังมักจะมีจิตใจคับแคบไม่เปิดใจรับฟังและรับรู้ชุดของความคิดและความรู้อื่นๆที่มีอยู่ในจักรวาลนี้อีกมามาย

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นแบบอย่างของความเป็นทั้งนักวิชาชีพและนักวิชาการที่มี
Philosophical humility สูงนั่นคือมีความหลากหลายในชุดของความรู้และความคิดที่กว้างขวางตลอดจนมีความนอบน้อมถ่อมตนในเชิงปรัชญาอย่างน่าชื่นชมยิ่ง โดยเฉพาะหากมองผ่านเข้าไปในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ที่ต้องอยู่ท่ามกลางความหลากหลายของชาติพันธุ์วรรณาในอาเซียน โดยเฉพาะความใจกว้างในเชิงปรัชญาทางศาสนานั้น ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีเยี่ยมแม้ในเรื่องที่เป็นอภิปรัชญาในทางศาสนา ท่านยังเคยแสดงความเห็นในเรื่องของพระเจ้าและอัตตาตลอดจนถึงการลดอัตตา แม้คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุเรื่องของความหมายในภาษามนุษย์และภาษาธรรมต่างกันอย่างไร ท่านยังเคยนำมาเป็นข้อคิดเพื่อให้ความรู้ได้อย่างลึกซึ้ง ทั้งๆที่ท่านเองนับถือศาสนาอิสลาม

aae

แม้ในเรื่องของความความขัดแย้งหรือย้อนแย้ง (contracdition)ท่านก็อธิบายไว้อย่างลึกซึ้ง ชึ่งผู้เขียนเองมีความประทับใจมากและนำมาเป็นแนวคิดในการอธิบายความปรากฏการณ์ต่างๆทั้งในทางวิชาชีพและวิชาการได้เป็นอย่างดี ทั้งในระดับพื้นๆจนถึงการอธิบายและสร้างทฤษฏีกลุ่มใหม่ หากจะให้กล่าวแบบสรุปก็คือท่านกล่าวว่า “ไม่มีความสมบูรณ์แบบใดๆที่ไร้ความย้อนแย้งอยู่ในตัว” คำนี้มีความลึกซึ้งมากสามารถอธิบายความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆได้ถึงขั้นเป็นเหตุให้ถึงจุดวิกฤติทางวิชาการและวิชาชีพที่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์(paradigm shift)ในทุกวงการเลยทีเดียว

แม้ความเห็นในทางการเมืองท่านก็ยอมรับในความเป็นประชาธิปไตยแบบไทยที่แนบเนื่องมาจากปัจจัยทางการเมืองผสานสังคมวิทยาแบบไทยเรา ที่มีรากฐานมาจากราชาธิปไตยที่เราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดๆในโลก เป็นสิ่งที่อาจหล่อหลอมวิธีคิดบางอย่างเฉพาะของคนไทยและประชาธิปไตยแบบไทยๆ และท่านเองย้ำอยู่เสมอว่า คำว่าประชาธิปไตยนั้นมิใช่การมีส่วนร่วมวันเดียวจบในวันหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องเป็นการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการขับเคลื่อนสังคมและประเทศด้วยวิธีการที่เหมาะสม อันหมายรวมไปจนถึงการคัดสรรผู้ที่มีปัญญาอย่างแท้จริงมาบริหารราชการในระดับต่างๆ มิควรเป็นการคัดสรรและเลื่อนตำแหน่งกันขึ้นมาจากการสนทนาในสนามกอล์ฟ เป็นต้น

นอกจากความชื่นชมยินดี ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในเชิงวิชาการวิชาชีพและความคิดเห็นของท่านต่อการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคมไทยที่น่าสนใจแล้ว ในแง่อัตชีวประวัติส่วนตัว ท่านยังเป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมยิ่ง ทั้งการถือกำเนิดมาในชุมชนชนบทของมุสลิมที่ต้องรักษาอัตลักษณ์ในระบบความคิดความเชื่ออย่างยิ่งยวดและผสานกับความหลากหลายทางวิธีคิด และการเป็นแบบอย่างที่ดีของความอดทนขยันมั่นเพียร ถึงขนาดเป็นลมหมดสติไปขณะรับจ้างล้างจานเมื่อไปเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ

นี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ผู้เขียนชื่นชมยินดีในดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ หากจะถามผู้เขียนว่า ในสังคมไทยเราทุกวันนี้ ถ้าอยากจะศึกษาอัตชีวประวัติใครอีกสักท่านหนึ่ง แล้วเกิดเป็นแรงบันดาลใจเพื่อขับเคลื่อนชีวิตและสังคมไทยให้ไปสู่ความสำเร็จที่เปี่ยมสุขและดีงาม บุคคลนั้นคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และนี้คือแบบอย่างทางความคิดที่ท่านฝากไว้แก่สังคมไทย

และหากจะถามว่าดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ มีคุณลักษณะเด่นใดๆในทางสุขภาพจิต คำตอบก็คือท่านเป็นผลรวมของผู้ที่มีความฉลาดทางเชาว์ปัญญา(IQ)และความฉลาดทางอารมณ์(EQ)อย่างลงตัวและดีงาม ขอไว้อาลัยแด่จากจากไปของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ คนดีย่อมเป็นที่รักของเหล่ามนุษย์และเทวดาเสมอ

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบสหศาสตร์, ประธานสถาบันพัฒนาคุณภาพมนุษย์ Wuttipong Academy Bangkok, กรรมการบริหารและประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มูลนิธิสุขภาพจิตโรงพยาบาลสวนปรุง, Best Practice Award 2017 สาขาวรรณกรรมเพื่อส่งเสริมสังคม

Recommended Posts