In บทความ, วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์
miss

สิ้นสุดการประกวดนางงามจักรวาล2017ไปแล้ว เชื่อว่าถึงแม้ไทยเราไม่ได้มงกุฏแต่การได้เข้ารอบห้าคนสุดท้ายก็เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากและควรชื่นใจโดยทั่วกัน ทั่งยังเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ผู้คนให้ความชื่นชมและสนใจประเทศไทยเรามากที่สุดในรอบ29ปีผ่านเวทีการประกวดนางงามจักรวาล แต่ยังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าเหตุใดมารีญาสาวไทยเราจึงไม่ได้เข้ารอบสามคนสุดท้าย และไม่ได้สรวมมงกุฏดังกระแสจากโพลล์สำนักต่างๆทั่วโลกที่ได้เก็งเอาไว้ บ้างก็วิจารย์ว่าเป็นเพราะเสื้อผ้าหน้าผมที่ทำให้มารีญาไม่มั้นใจ จึงวิตกกังวลและส่งผลให้ตอบคำถามไม่ค่อยตรงประเด็น ซึ่งหากมองโดยภาพรวมแล้วก็น่าจะเป็นเช่นนั้น

#บุคลิกภาพภายในที่ดีเลิศด้วยการคิดอย่างเป็นระบบระเบียบ สมเหตุผล เปี่ยมความรับผิดชอบ

ต่ไม่ว่าใครจะวิจารณ์ในมุมมองใดๆก็ตาม #ผู้เขียนเห็นว่าควรเป็นการวิจารณ์ในทางสร้างสรรค์ นั่นคือควรเห็นว่าเราน่าจะพลาดจากจุดใดบ้างและหากจะพัฒนาในโอกาศต่อไปควรพัฒนาอะไรและอย่างไร โดยเฉพาะหากจะส่งนางงามไปประกวดในระดับชาติและนานาชาติ วงการนางงามควรเตรียมพัฒนานางงามอย่างไรบ้าง สำหรับเรื่องของเสื้อผ้าหน้าผมและท่วงทีกิริยาหรือบุคลิกภาพภายนอกนั้นผู้เขียนไม่ขอวิจารณ์ใดๆ เนื่องด้วยเมืองไทยพัฒนาเรื่องเหล่านั้นมานานหลายทศวรรษและดีอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นข้อจำกัดอยู่มากทีเดียวและควรมีการพัฒนากันอย่างเป็นระบบนั้นคือเรื่องของบุคลิกภาพภายในหรือ internal personality นั่นเอง ซึ่งประกอบด้วย สติ สมาธิ การรับรู้ ความจำ ความรับผิดชอบ ความเป็นผู้วางใจได้ ความคิดด้านดีและการตัดสินใจที่เหมาะสม ซึ่งอาจเรียกทั้งหมดโดยรวมว่า “#ปรีชาญาณหรือปัญญาญาณหรือปฏิภาณ”ก็ได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติและฉุกเฉินใดใดในชีวิตที่คนเราจะต้องตัดสินใจสื่อสารและกระทำการใดๆนั้นปรีชาญาณสำคัญที่สุด

#นั่นคือสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาจะทำงานอย่างสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะสมองซีกขวานั้นจะทำงานเชิงประมวลผลและถ่ายทอดความคิดและการตัดสินใจออกมาอย่างเป็นระบบระเบียบและเป็นเหตุเป็นผล กระทั่งร้อยเรียงให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกันออกมาอย่างเหมาะสมกับเวลาและพื้นที่ที่จะสื่อสารหรือกระทำการณ์นั้นๆ ชึ่งจะสังเกตุเห็นว่าคำถามของนางงามจักรวาลทั้งห้าคำถามในปีนี้ล้วนเป็นคำถามที่เปิดกว้างและเปิดโอกาสให้นางงามแต่ละคนแสดงความคิดเห็นแบบประมวลผลเชิงปรีชาญาณออกมาทางวาจาจากการตอบคำถามทั้งสิ้น

การถูกถามด้วยคำถามเปิดสั้นๆและจะต้องตัดสินใจตอบออกมาในเวลาสั้นๆเพียง 30 วินาทีเช่นนั้น สมองและระบบความคิดต้องทำงานด้วยการเข้าใจในความหมายของเนื้อหาของคำถาม จากนั้นผู้ตอบคำถามต้องมีความจำได้หมายรู้ในเรื่องราวเหล่านั้นระดับหนึ่ง จึงจะสามารถหยิบโยงประเด็นหลักดังกล่าวมาขยายและอธิบายความทั้งในเชิงลึกหรือเชิงกว้างให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเรื่องราวนั้นๆได้ และร้อยเรียงออกมาอย่างสมเหตุผลกระทั่งขมวดปมในเชิงสรุปให้สั้นกระชับและจับใจ ทั้งยังต้องมีลีลาและอารมณ์ที่ผสมเข้าไปในเนื้อหานั้นๆเพื่อให้โน้มน้าวใจผู้ฟังอีกด้วย

.jpg

ดังนั้นแทบทุกเวทีการประกวดนางงามที่ได้มาตรฐานจึงใช้คำถามเปิดโอกาศให้นางงามตอบในเชิงประมวลผลที่สั้นกระชับและจับใจมาเป็นเครื่องชี้วัด(kpi)ว่า #ใครจะเหนือใครและตรึงใจผู้ฟังได้ดีกว่ากันในรอบสุดท้ายก็ด้วยปรีชาญาณหรือปฏิภาณนั่นเอง ซึ่งคือส่วนสำคัญของบุคลิกภาพภายใน (internal personality) และนี้เป็นโค้งสุดท้ายที่นางงามจะเข้าเส้นชัยถึงรอบห้าหรือสามคนสุดท้ายจนถึงมงกุฏหรือไม่ก็ด้วยปรีชาญาณนี้เอง #หากจะถามว่าอะไรคือรูปแบบการคิดเชิงประมวลผลที่ถ่ายทอดสู่คำตอบที่เปี่ยมปรีชาญาณ คำตอบแบบสั้นๆคือ 1.)#ต้องตอบให้ตรงคำถาม 2.)#ขยายความอย่างเหมาะสม 3.)#กลมกลืนด้วยหลักฐานและตัวอย่าง 4.)#เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม 5.)#อุดมไปด้วยน้ำเสียงและลีลาที่เร้าใจ ซึ่งอาจฟังดูเหมือนง่ายแต่การฝึกฝนและพัฒนานั้นไม่ง่ายเลย

#การจะตอบคำถามใดๆออกมาอย่างมีปรีชาญาณหรือปฏิภาณที่เฉียบคมนั้น #จะเกิดจากการได้รับการฝึกฝนความคิดมาอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยแยกแยะให้เห็นว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล อะไรสัมพันธ์กับอะไรหรือไม่สัมพันธ์กับอะไร กระทั่งสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กันอย่างไร อะไรเป็นประเด็นหลักอะไรเป็นประเด็นรอง อะไรขยายความอะไร ตลอดจนมีการขยายหรืออภิปรายความคิดนั้นๆได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งจนตกผลึกในเรื่องราวต่างๆได้อย่างงดงามและเฉียบคม ไม่ว่าคำถามนั้นๆจะได้ใคร่ครวญด้วยมีเวลาตอบเพียงน้อยนิดหรือเนิ่นนานก็ล้วนเกิดจากหลักการเหล่านั้นทั้งสิ้น

ทั้งวงการนางงามหรือการทำงานใดๆมักจะพูดว่านางงามหรือคนที่จะต้องทำงานกับผู้คนมากมายต้องได้รับการโค๊ชหรืออบรมเรื่องการพูดต่อหน้าสาธารณชน นั่นเป็นคำตอบที่ถูกเกือบครึ่งหนึ่งเท่านั้น และผู้เขียนมักจะพบคำพร่ำบ่นอยู่เสมอว่า “#ส่งไปเข้าอบรมเท่าไหร่ก็ยังพูดไม่เก่งและตอบคำถามได้ไม่ดีเช่นเดิม” นั่นก็เป็นเพราะไปเรียนในสิ่งที่เกือบจะเป็นปลายทางอยู่แล้ว เพราะต้นทางที่สำคัญคือการคิดต่างหาก #กล่าวคือคิดได้อย่างไรก็สื่อสารออกมาได้อย่างนั้น ดังนั้นการพูดจึงเป็นผลลัพท์จากการคิดที่ถ่ายทอดออกมาเท่านั้น ดังนั้นนางงามควรได้เรียนรู้การฝึกคิดอย่างเป็นระบบและเข้มงวดเสียก่อนจึงค่อยมาฝึกการพูดหรือการตอบคำถามใดๆ

เปรียบเสมือนการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ต้องเริ่มจากการเรียนรู้และเข้าใจความหมายของตัวเลขเสียก่อนจึงจะตามมาด้วยการเรียนบวกลบคูณหารแล้วต่อไปเรื่องการถอดสแคว์รูท หรือต้องเรียนรู้และเข้าใจคณิตศาสตร์เป็นอย่างดีเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้แคนคูลัสได้ และต่อยอดไปสู่สูตรต่างๆทางฟิสิกส์จนถึงนำไปสู่การคำนวณการก่อสร้างต่างๆทางด้านวิศวกรรมเป็นต้น การคาดหวังให้นางงามพูดดีตอบคำถามเด่นจึงเป็นสิ่งปลายทางที่ยากยิ่ง หากมิได้รับการเรียนรู้เรื่องการคิดเสียก่อน ไม่ต่างไปจากคาดหวังให้นายช่างเทคนิคคำนวณการก่อสร้างตึกหนึ่งร้อยชั้นโดยที่เขาปราศจากความรู้ความเข้าใจในวิชาฟิสิกส์และทฤษฏีพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์นั่นเอง

ดังนั้นนางงามที่คาดหวังจะได้ตำแหน่งในระดับชาติและนานาชาติ ควรต้องฝึกฝนพัฒนาบุคลิกภาพภายใน (internal personality) อย่างจริงจังเป็นระบบต่อเนื่องยาวนานและเข้มงวด ด้วยการฝึกคิดรูปแบบต่างๆจากขั้นง่ายๆไปจนถึงขั้นที่ยุ้งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น จากนั้นจึงค่อยพัฒนาการถ่อยทอดความคิดต่างๆเหล่านั้นออกมาอย่างเป็นระบบระเบียบ ด้วยการพูดและการแสดงออกหรือการสื่อสารรูปแบบอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสิ่งนี้จะแสดงถึงปรีชาญาณจากภายในควบคู่ไปกับบุคลิกภาพภายนอกคือท่วงที่กิริยาและเสื้อผ้าหน้าผมให้ออกมาสง่างามในที่สุด

#ใช่เพียงแต่วงการประกวดนางงามเท่านั้น ในชีวิตจริงของคนเราทั้งในครอบครัวญาติมิตรเพื่อนร่วมงานตลอดถึงคนทั้งโลกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์วรรณา ต่างก็ล้วนต้องการบุคลากรที่เปี่ยม”ปรีชาญาณหรือปฏิภาณ”กันทั้งสิ้น เพราะคนเช่นนี้คือบุคลากรที่มีบุคลิกภาพภายในที่ดีเลิศด้วยการคิดอย่างเป็นระบบระเบียบ สมเหตุผล เปี่ยมความรับผิดชอบ จะสื่อสารหรือกระทำการใดๆก็มักจะได้รับการยอมรับนับถือและชื่นชมยินดีนำมาสู่ความสุขและสำเร็จทั้งตนเองและหน้าที่การงานได้จนถึงระดับจักรวาลในที่สุด

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบสหศาสตร์, ประธานสถาบันพัฒนาคุณภาพมนุษย์ Wuttipong Academy Bangkok, กรรมการบริหารและประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มูลนิธิสุขภาพจิตโรงพยาบาลสวนปรุง, Best Practice Award 2017 สาขาวรรณกรรมเพื่อส่งเสริมสังคม

Recommended Posts