In บทความ, วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์
mind-2

าจารย์ขาหนูจิตตกอีกแล้ว,อาจารย์ครับผมจิตตกอีกแล้วแย่ที่สุดเลยจะรับมืออย่างไรดีตายแน่แน่เลยครับ” คำว่า”#จิตตก”หลายคนคงคุ้นหู #เพราะเมื่อไหร่ที่เกิดความวิตกกังวลซึมเศร้าร้าวรานใจก็มักจะพูดว่า”ฉันจิตตก”หรือ “ผมจิตตก” ในทางธรรมความจริงจิตไม่ได้ตกไปที่ไหน เป็นเพียงแค่สมองเจ้าของความคิดนั้นปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้นเอง ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลสูงจนอาจควบคุมตนเองได้ยาก เกิดความรู้สึกหวั่นไหวหวาดหวั่นไร้ความมั้นคงปลอดภัยจึงรำพันว่า”ฉันจิตตก”

ฝึกรู้ทันอารมณ์และความคิดของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

#จิตตกมักจะเกิดขึ้นในภาวะที่คนเราไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์แวดล้อมต่างๆได้ จนกังวลว่าอาจเกิดเหตุเภทภัยใดใดที่ร้ายแรง หรืออาจเกิดเหตุการณ์ย่ำแย่จนไม่อาจควบคุมได้ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำค้าขายฝืดเคือง หรือจ้างงานแล้วไม่ได้เป็นไปอย่างที่จ้างหรือจัดกิจกรรมใดใดแล้วไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เป็นต้น

mind-1

#คนส่วนใหญ่ที่พูดว่าจิตตกนั้นมักจะพูดอยู่ซ้ำซากเพราะเป็นรูปแบบของความคิดที่เป็นแบบแผนเช่นนั้นตลอดมา เพราะในสถานการณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันคนอื่นๆอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาก็ได้ และรับมือได้อย่างสมเหตุผล แต่สำหรับคนที่มักจะบ่นว่าจิตตกนั้น ไม่ว่าเหตุการณ์ใดใดเกิดขึ้นก็มักจะพูดว่าจิตตกอยู่นั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะรูปแบบความคิดที่ถาวรของบุคคนนั้นนั่นเอง

คนที่มักพูดว่า”#จิตตก”นั้นมักจะมีรูปแบบของความคิดอัตโนมัติถาวรในลักษณะที่คาดเดาและขยายความเรื่องแย่ๆให้ใหญ่สุดโต่ง (Catastrophizing,Overgeneralization) เช่นมักพูดว่า”ตายตายแย่แล้วแย่แล้วหายนะจริงๆ” เป็นต้น และมักไม่ค่อยพึงพอใจในเรื่องดีดีที่มีอยู่ แต่ให้ความสำคัญในสิ่งแย่ๆมากกว่า (Disqualifying or discounting the positive) เช่น “ไตรมาสนี้ประธานบริหารชมว่าฉันทำได้ดีแต่ฉันคิดว่าโชคช่วยฉันมากกว่า”เป็นต้น ดังนั้นเมื่อความคิดในด้านลบฟุ้งขยายใหญ่ขึ้นจึงส่งผลทำให้อารมณ์และความรู้สึกเกิดความวิตกกังวลและหวั่นไหวหวาดหวั่น

#วิธีป้องกันและแก้ไขความคิดที่ทำให้จิตตก สามารถทำได้อย่างน้อยสามวิธีดังนี้

1) ฝึกหยุดคิดโดยการเพ่งดูเฉพาะการหายใจเข้าออกของตนเอง 2) ฝึกรู้ทันอารมณ์และความคิดของตนเองอย่างสม่ำเสมอนั่นคือ คิดก็รู้ว่าคิด กังวลก็รับรู้ว่ากังวลเป็นต้น จะส่งผลให้ลดความวิตกกังวลลงได้ เพราะความคิดเหล่านั้นถูกควบคุมด้วยสติและการรู้เท่าทันนั่นเอง 3) ใคร่ครวญหาเหตุผลและหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆของเหตุการณ์ที่ส่งผลให้ตนเองกังวล คนส่วนใหญ่เมื่อถูกโค๊ชให้วิเคราะห์เหตุการณ์โดยละเอียดมักจะพบว่าเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่ตนเองกังวลเลย ตรงกันข้ามทุกอย่างอยู่ในภาวะที่สามารถป้องกันแก้ไขได้ทั้งสิ้น #หากฝึกคิดดังที่กล่าวมาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดอาการจิตตกของตนเองได้ในที่สุด

#และหากต้องรับมือกับบุคคลใกล้ชิดที่มีวิธีคิดที่ทำให้จิตตกเช่นนั้น สิ่งสำคัญที่พึงทำคือ 1)ตั้งสติให้มั่นและรับฟังเขาอย่างเต็มใจโดยไร้การตำหนิหรือประเมินใดๆทั้งสิ้น 2)ชวนและช่วยเขาค้นหามุมมองดีดีที่มีในเหตุการณ์ที่เขากังวลจนค้นพบ และ 3) สื่อสารด้วยน้ำเสียงและลีลาท่าทีที่สงบร่มเย็นและอาจแฝงเร้นไว้ด้วยชวนเขามองในเชิงขบขันด้วยก็ได้ #หากทำได้ทั้งสามประการอย่างสัมพันธ์และราบรื่นก็จะรับมือช่วยเหลือบุคคลใกล้ชิดที่จิตตกได้เป็นอย่างดี

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิตและพัฒนาบุคลากรด้วยสหศาสตร์, ประธานสถาบันพัฒนาบุคลากรและบุคลิกภาพ Wuttipong Academy Bangkok และกรรมการบริหารมูลนิธิสุขภาพจิตโรงพยาบาลสวนปรุง

Recommended Posts